Translate

วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การเล่นเทคนิคดีดโน้ตข้ามสาย(string skipping)

EX.1 Phrase A



สำหรับ ใน EX.1 นี้เป็น Phrase A ซึ่งใช้เป็นกลุ่มทำนองหลัก ของเพลงนี้ (memo. Skip) ผมใช้ ทางเดินchord I IV V7 ใน Dmajor key ( D E F# G A BC#) มาการสร้างแนวทำนอง ใน 2 bar แรก เป็นการใช้ motive Repeated + กับขั้นคู่ perfect 5 ของchord D(add2) = D E F# A , chord G(add2) = G A B D ส่วนในbar 3 .ใช้ Chord A7 (คู่ 7minor & คู่ 6 major) , ในbar4 .ใช้การเคลื่อนที่ ในระบบครึ่งเสียงแบบ Chromatic มาช่วยเชื่อมเพื่อให้ทำนองลงตัว และเล่นวนกลับไปมาได้ สำหรับการดีด skipping มือขวา ผมจะใช้แขน กับข้อมือมากกว่าปกติ ซึ่งอันนี้ผมคิดว่าไม่มีกฏเกณฑ์ที่แน่นอนนะครับ



Ex.2 Memo. Skip




ในส่วนของEx.2 ตอนแรกกะว่าจะลงโน้ต Phrase B อย่างเดียว คิดไปคิดมา ลงทั้งเพลงเลยดีกว่านะครับ เพลงนี้จะมี 3 Phrase A(3bar) , B(4bar), C (4bar) ไม่ร่วมการย้อน ซึ่งในPhrase A B จะเน้นการ string skipping ส่วนในท่อน C (Ending) จะเน้นการฝึกสัดส่วนของ 6พยางค์ ที่ต้องเล่นเชื่อมต่อกับ sixteenth note แบบต่อเนื่องกัน ใน ท่อน B และC นั้นผม เปลี่ยนมาใช้คีย์ G major ( G A BC D EF#) ผมจะเน้นตัว 4 (sus4)ของchord มาช่วยแต่งเติมทำนองในphrase B ในทางเดินchord ={I(G) , iiib(Bm/F#) vi(Em) v(D) } แต่ ใน phrase A จะเน้นตัว 2 (add2) เป็นหลักครับ และท่อนจบใน phrase C ผมคิดจากarpeggio Cmajor9 =C E G B D และ D9 = D F# G C E
อีกจุดที่ผมคิดไว้ ก็คือสามารถใช้ฝึกเปลี่ยน Key ได้ด้วย ในการฝึกของผมจะใช้การเปลี่ยน key แบบ circle of 4th (มาจากแนวคิดเดิมของเพลงอยู่แล้ว) เช่น เริ่มที่คีย์D ย้อนไป คีย์G, …. Gไป F…. F ไปคีย์ C … จนครบ Circle of 4th .. แต่ก็มีข้อจำกัดของการเคลื่อนที่อยู่นะครับ เพราะผมใช้สาย 5 เป็น root ในการกำหนดทิศทางของคีย์ เพื่อน ๆ จำเป็นต้องใช้การJump root ในการเคลื่อนที่เอาเองนะครับ จะได้ลงตัวการรูปแบบทำนองของแบบฝึกนี้
อุปกรณ์ที่ใช้กีตาร์ Fender American Standard ปี 90
Pickup - 2 Dimarzio HS3 (Neck & Bridge) , 1 vintage fender (mid)

Efffect ใช้ Software ของ Dsound และ Plug-ins ของ Amplitube โดยใช้กับ AudioCapture Edirol รุ่น UA-20
และ Boot เสียงด้วย OD1 ของ Boss


ขอบคุณ  http://www.guitarthai.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น